วันอังคารที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2553

สถานที่เที่ยวอัมพวา


วัดอัมพวันเจติยาราม
ตั้งอยู่ใกล้กับตลาดน้ำอัมพวา สันนิษฐานว่าสร้างในรัชกาลที่ 1 วัดแห่งนี้เป็นสถานที่พระราชสมภพของรัชกาลที่ 2 ปัจจุบันเป็นพระอารามหลวงชั้นโท อุโบสถเป็นสถาปัตยกรรมสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น





พระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
ตั้งอยู่ภายในบริเวณวัดอัมพวันเจติยาราม เชื่อกันว่า บริเวณพระปรางค์ของวัดอัมพวันเดิมเป็นเรือนที่คุณนาค(สมเด็จพระอมรินทรามาตย์ พระบรมราชินีในรัชกาลที่ 1)ใช้เป็นที่คลอดคุณฉิม (พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย)








อุทยานรัชกาลที่ 2
หรืออุทยานพระบรมราชานุสรณ์ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ก่อสร้างเพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติและเป็นการสนองพระมหากรุณาธิคุณที่พระองค์ได้ทรงมีคุณูปการที่ยิ่งใหญ่ต่อการฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรมไทย ทั้งวรรณกรรม นาฎศิลป์ ดนตรี สถาปัตยกรรม จิตรกรรม ประติมากรรม จนได้รับการยกย่องให้เป็นบุคคลสำคัญของโลก จางองค์การร่วมมือทางการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมระหว่างประเทศ (UNESSCO)

วัดจุฬามณี
ตั้งอยู่ต.บางช้าง อ.อัมพวา วัดนี้สร้างขึ้นสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลายรัชกาลสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง เพื่อเข้าสักการะรูป"หลวงพ่อเนื่อง" เกจิอาจารย์ชื่อดังของจังหวัดสมุทรสงคราม ในโลงแก้ว และศาลาเรือนไม้ที่สวยงาม และเข้าชมภายในพระอุโบสถของวัด

ตลาดน้ำอัมพวา : Amphawa Floating Market
ตลาดน้ำอัมพวา มีทุก ศุกร์-เสาร์-อาทิตย์และวันหยุดนักขัตฤกษ์

เวลา บ่ายๆถึงประมาณ21.00 น.
ตั้งอยู่ตั้งแต่บริเวณปากคลองอัมพวา ตลอดไปจนถึงบริเวณใกล้กับวัดพระยาญาติปากง่าม ทั้งสองฝั่งคลองเป็นร้านขายของเรือนริมน้ำ และเรือพาย
สินค้ามากมาย ทั้งของกิน ของฝาก ของใช้ ของที่ระลึก

วันจันทร์ที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2553

ข้อมูลตำบลอัมพวา

ประวัติความเป็นมาของตำบลอัมพวา :
บริเวณพื้นที่ตำบลอัมพวา เดิมเรียกว่า แขวงบางช้าง ไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัดว่าจัดตั้งขึ้นเมื่อใด บริเวณแขวงบางช้างนี้ถูกเรียกว่า “สวนนอก” มีลักษณะเป็นชุมชนเล็ก ๆ แต่มีความเจริญทั้งในการเกษตรกรรมและการพาณิชยกรรม เพราะในสมัยพระเจ้าปราสาททอง แห่งกรุงศรีอยุธยา แขวงบางช้างมีตลาดแห่งหนึ่งเรียกว่า “ ตลาดบางช้าง” มีนายตลาด บางช้าง เป็นผู้เก็บภาษีอากรขนาดตลาด นายตลาดผู้นี้เป็นผู้หญิงชื่อน้อย มีบรรดาศักดิ์เป็นท้าวแก้วผลึก เป็นคนในตระกูลเศรษฐีในแขวงบางช้าง ซึ่งต่อมาเป็นต้นวงศ์ราชนิกูลบางช้าง ในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 แห่กรุงรัตนโกสินทร์ในปี พ.ศ.2481 ได้รวมท้องที่ตำบลอัมพวาและตำบลบางกะพ้อมเข้าด้วยกันเป็นตำบลอัมพวา
สภาพทั่วไปของตำบล :
พื้นที่เป็นที่ราบลุ่ม แม่แม่น้ำแม่กลองไหลผ่าน

มีลำคลองผ่านหลายสาย ได้แก่
คลองอัมพวา
คลองลัดตาโชติ(หน้าบ้านฝนโฮมสเตย์)
คลองบางจาก


คลองดาวดึงษ์

คลองวัดนางวัง คลองวัดบางกะพ้อม ได้รับอิทธิพลจากน้ำทะเลหนุน น้ำไหลขึ้นลงตลอดปี พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นสวนผลไม้ ได้แก่ สวนลิ้นจี่ สวนส้มโอ สวนมะพร้าว สวนมะม่วง ฯลฯ
..
ลักษณะภูมิอากาศโดยทั่วไป
จะมีฝนตกชุกประมาณเดือน พฤษภาคม – ตุลาคม เนื่องจากได้รับอิทธิพลของลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้
อาณาเขตตำบล :
ทิศเหนือ จรดกับตำบลบางช้าง อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงครามทิศใต้ จรดกับแม่น้ำแม่กลาง อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงครามทิศตะวันออก จรดกับตำบลบ้านปรก อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสงครามทิศตะวันตก จรดกับแม่น้ำแม่กลอง อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม
จำนวนประชากรของตำบล :
จำนวนประชากรทั้งสิ้น 6,369 คน เป็นชาย 3,012 คน เป็นหญิง 3,357คน
ข้อมูลอาชีพของตำบล :
อาชีพหลัก ค้าขาย/ทำสวนผลไม้

วันเสาร์ที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2553

ข้อมูลอำเภออัมพวา

อำเภออัมพวา เป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดสมุทรสงคราม(ประกอบไปด้วย อำเภอเมืองสมุทรสงคราม อำเภอบางคนที และอำเภออัมพวา)






คำขวัญอำเภออัมพวา : "ส้มโอรสดี ลิ้นจี่รสหวาน สาวงามอัมพวา"
นายอำเภอคนปัจจุบัน : นายนรภัทร ปลอดทอง

ข้อมูลสถิติ
พื้นที่ : 170.2 ตารางกิโลเมตร
ประชากร : 56,868 คน (พ.ศ.2552)
ความหนาแน่น : 334.12 คน/ตารางกิโลเมตร


ที่ตั้งและอาณาเขต
อำเภออัมพวามีอาณาเขตติดต่อกับอำเภอข้างเคียง ดังนี้
ทิศเหนือ ติดต่อกับอำเภอบางคนที
ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอเมืองสมุทรสงคราม
ทิศตะวันออก ติดต่อกับอำเภอเขาย้อยและอำเภอบ้านแหลม (จังหวัดเพชรบุรี)
ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอปากท่อและอำเภอวัดเพลง (จังหวัดราชบุรี)

การปกครองส่วนภูมิภาค
อำเภออัมพวาแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 12 ตำบล 96 หมู่บ้าน ได้แก่
1.อัมพวา (Amphawa)
2.สวนหลวง (Suan Luang)มี 15 หมู่บ้าน
3.ท่าคา (Tha Kha)มี 12 หมู่บ้าน
4.วัดประดู่ (Wat Pradu)มี 10 หมู่บ้าน
5.เหมืองใหม่ (Mueang Mai)มี 10 หมู่บ้าน
6.บางช้าง (Bang Chang)มี 9 หมู่บ้าน
7.แควอ้อม (Khwae Om)มี 8 หมู่บ้าน
8.ปลายโพงพาง (Plai Phongphang)มี 9 หมู่บ้าน
9.บางแค (Bang Khae)มี 7 หมู่บ้าน
10.แพรกหนามแดง (Phraek Nam Daeng)มี 6 หมู่บ้าน
11.ยี่สาร (Yi San)มี 5 หมู่บ้าน
12.บางนางลี่ (Bang Nang Li)มี 5 หมู่บ้าน

เทศกาลสำคัญของอำเภออัมพวา
งานเทิดพระเกียรติพระพุทธเลิศหล้านภาลัย : บริเวณอุทยานร.2 : ประมาณเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี
เทศกาลอาหารริมเขี่อน :บริเวณหน้าอำเภออัมพวา : ประมาณเดือนสิงหาคมของทุกปี
เทศกาลลอยกระทงกาปกล้วย : บริเวณอุทยานรัชกาลที่ 2 : วันลอยกระทง

วันศุกร์ที่ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2553

ประวัติศาสตร์อัมพวา


ด้านประวัติศาสตร์ของอัมพวา

"อำเภออัมพวา" มีความสำคัญและเกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์ไทยสมัยกรุงศรีอยุธยาถึงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ สมัยก่อนเรียกว่า "แขวงบางช้าง" เป็นชุมชนเล็กๆที่มีความเจริญทั้งในด้าน การเกษตรและการพาณิชย์ มีหลักฐานเชื่อได้ว่า ในสมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททองนั้น แขวงบางช้างมีตลาดค้าขายเรียกว่า "ตลาดบางช้าง" นายตลาดเป็นหญิงชื่อ น้อย มีบรรดาศักดิ์เป็นท้าวแก้วผลึก นายตลาดผู้นี้อยู่ในตระกูลเศรษฐีบางช้าง ซึ่งต่อมาเป็นราชนิกุล "ณ บางช้าง"
ปีพ.ศ. 2303 ในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย รัชสมัยสมเด็จพระเจ้าเอกทัศน์ได้โปรดให้นายทองด้วง (พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช)เป็นหลวงยกกระบัตรเมืองราชบุรี ซึ่งเป็นเมืองจัตวาขึ้นตรงต่อกรุงศรีอยุธยา ภายหลังหลวงยกกระบัตรได้แต่งงานกับคุณนาค(สมเด็จพระอมรินทรามาตรย์) บุตรีเศรษฐีบางช้าง และย้ายบ้านไปอยู่หลังวัดจุฬามณี ต่อมาเมื่อไฟไหม้บ้านจึงได้ย้ายไปอยู่ที่หลังวัดอัมพวันเจติยารามอีก 3 ปี ปีพ.ศ.2310 พม่าตีกรุงศรีอยุธยาแตก หลวงยกกระบัตรจึงตัดสินใจอพยพครอบครัวเข้าไปอยู่ในป่าลึก ในระหว่างนี้ ท่านแก้ว (สมเด็จกรมพระศรีสุดารักษ์) พี่สาวของหลวงยกกระบัตร ได้คลอดบุตรหญิงคนหนึ่งชื่อว่า "บุญรอด" (ต่อมาได้เป็นสมเด็จพระศรีสุริเยนทรามาตย์ พระบรมราชินีในรัชกาลที่ 2)
ในช่วงสมัยกรุงธนบุรี พระยาวชิรปราการ ได้รวบรวมกำลังขับไล่พม่าออกไปหมด และสถาปนาตนขึ้นเป็นสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช หลวงยกกระบัตรได้อพยพครอบครัวกลับภูมิลำเนาเดิม ในช่วงนี้เอง คุณนาค ภรรยา ก็ได้คลอดบุตรคนที่ 4 เป็นชายชื่อ "ฉิม" (พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย) หลังจากนั้น หลวงยกกระบัตรก็ได้กลับเข้ารับราชการอยู่กับสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นพระราชวรินทร์ เจ้ากรมพระตำรวจนอกขวา และได้ดำรงตำแหน่งจนเป็น สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก และปราบดาภิเษกขึ้นเป็น "พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช"ต้นราชวงศ์จักรี จากนั้นจึงเริ่มเข้าสู่สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ คุณนาค ได้รับสถาปนาขึ้นเป็น สมเด็จพระอมรินทรามาตย์ คุณสั้น มารดาคุณนาค ได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นสมเด็จพระรูปศิริโสภาคมหานาคนารี
แต่เนื่องจากสมเด็จพระอมรินทรามาตย์ ทรงเป็นคนพื้นบ้านบางช้างมาก่อน จึงมีพระประยูรญาติต่างๆประกอบอาชีพทำสวนอยู่ที่บางช้าง เมื่อได้รับสถาปนาเป็นสมเด็จพระอมรินทรามาตย์ จึงนับเป็นราชินิกุล "บางช้าง"พระประยูรญาติจึงเกี่ยวดองเป็นวงศ์บางช้างด้วย และสมเด็จพระอมรินทรามาตย์มักเสด็จมาเยี่ยมพระประยูรญาติเสมอ จึงมีคำกล่าวเรียกว่า "สวนนอก" หมายถึง สวนบ้านนอก ที่เป็นของวงศ์ราชินิกุลบางช้าง ส่วนบางกอก ซึ่งเป็นส่วนของเจ้านายในราชวงศ์ ก็เรียกว่า "สวนใน" มีคำกล่าวว่า "บางช้างสวนนอก บางกอกสวนใน" จนถึงสมัยรัชกาลที่ 4 จึงยกเลิกไป อำเภออัมพวาจึงเป็นเมืองที่มีความสำคัญเกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์ไทยมายาวนาน

วันพุธที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2553

แผนที่อัมพวา



แผนที่สำหรับท่องเที่ยวอัมพวา และพื้นที่ใกล้เคียง

เจาะจงไปในบริเวณแผนที่รอบๆตลาดน้ำอัมพวา เพื่อการเดินเท้าท่องเที่ยวค่ะ
ขอบคุณข้อมูลจาก http://www.fonhomestay.com

การเดินทางไปอัมพวา

การเดินทางโดยรถตู้ : By passenger van.

รถตู้ กรุงเทพ-อัมพวา-ดำเนิน จอดบริเวณอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ
รถตู้ กรุงเทพ-แม่กลอง และลงรถที่ ตลาดแม่กลอง (ตัวเมืองสมุทรสงคราม) ซึ่งสามารถขึ้นรถได้จากบริเวณต่างๆ ดังนี้
-ปิ่นเกล้า สามารถขึ้นรถตู้ได้ที่บริเวณหน้าห้างเมอร์รี่คิงส์เก่า(โลตัสปัจจุบัน)

-อนุสารีย์ชัยฯ อยู่บริเวณใต้ทางด่วนพหลโยธิน ฝั่งไปสะพานควาย

-จตุจักร สามารถขึ้นรถตู้ได้ที่บริเวณหน้าสถานีขนส่งหมอชิดใหม่

-บางนา สามารถขึ้นรถตู้ได้ที่บริเวณหน้าไบเทคบางนา

-บางประแก้ว สามารถขึ้นรถตู้ได้ที่บริเวณหน้าโรงภาพยนตร์ก่อนถึงปั๋มน้ำมันเชลล์
รถตู้โดยสาร ดังกล่าว ถึง ตัวเมือง"แม่กลอง"
แนะนำการต่อรถไปบ้านฝนโฮมสเตย์ อัมพวา ได้โดย
- แนะนำ** รถตุ๊ก ตุ๊ก สามารถเหมารถได้จากตลาดแม่กลองเลยค่ะ(บริเวณป้อมตำรวจที่ลงรถตู้) ราคา 80-100 บาท/คันผ่านตลาดน้ำอัมพวา และส่งให้ถึงบ้านฝน ค่ะ เพื่อเก็บสัมภาระ และสามารถเดินจากบ้านฝนไปตลาดน้ำอัมพวาได้ค่ะ หรือจะให้รถตุ๊ก ตุ๊ก พาเที่ยว ตลาดน้ำดำเนิน ตลาดน้ำท่าคา หรือเที่ยววัดรอบอัมพวา โดยมารับถึงบ้านฝนโฮมสเตย์เลยค่ะ
- แนะนำ** กรณีมาเป็นกลุ่มใหญ่ 7 คนขึ้นไป ให้เหมารถ สองแถว สาย "วัดจุฬามณี - แม่กลอง" สามารถเหมารถสองแถวได้จากตลาดแม่กลอง(บริเวณตลาดธนวัต / ตลาดหุบร่ม) ส่งถึงบ้านฝน ในราคา 100 บาท ต่อคัน (ประหยัด ค่ะ)
(การเดินทางตามวิธีที่ แนะนำ** นั้น เป็นการเดินทางที่สะดวก ประหยัด และยุติธรรม)


By passenger van :You can get on a passenger van to Samut Sonhkham everday.Get on the passenger van at Victory Monument on the road to Saphan Kwai or get on at MoChit2 on the side opposite to Chatuchak market.And you can go to Amphawa and Fonhomestay by Tuk Tuk.


การเดินทางโดยรถทัวร์ : By passenger bus.


การเดินทางจากกรุงเทพฯ สามารถขึ้นรถโดยสารได้ที่สถานีขนส่งสายใต้ (ป.1)เป็นเส้นทาง กรุงเทพฯ-ดำเนินสะดวก ซึ่งจะผ่าน ตัวเมืองแม่กลอง อ.อัมพวาและตลาดน้ำอัมพวา ปลายทางที่อ.ดำเนินสะดวก ราชบุรีเปิดให้บริการ 05.50-21.00 น.(จากกรุงเทพ)เปิดให้บริการ 05.30-18.30 น.(จากอัมพวา)
(ขึ้น-ลงรถได้ที่หน้าธนาคารนครหลวงไทย สาขาอัมพวา)
การเดินทางไปบ้านฝน อัมพวาโดยรถทัวร์
เพื่อนๆสามารถเดินทางโดยรถโดยรถทัวร์ เมื่อถึงตัวอำเภออัมพวาแล้วเหมารถตุ๊กๆเข้าบ้านฝนก็ได้ค่ะ หรือจะเดินเข้าไปใช้เวลาประมาณ 15 นาทีจากตลาดน้ำอัมพวาค่ะ
By passenger bus :Passenger bus at Southern bus terminal has several departures for SamutSongKhram to Amphawa every day from 05.50 am-9.00 pm (From Bangkok)
And you can go to Fon Home Stay by Tuk Tuk.


การเดินทางโดยรถส่วนตัว : By Car.

จากกรุงเทพ ใช้เวลา 1 ชั่วโมงครึ่ง ตามเส้นทางหลวงหมายเลข 35 (ถ.พระราม2สายธนบุรี-ปากท่อ) ผ่านสี่แยกมหาชัย-นาเกลือประมาณหลักกิโลเมตรที่ 64จะมีทางแยกต่างระดับจากซ้ายมือเพื่อเข้าสู่ตัวเมืองสมุทรสงคราม(แม่กลอง)ซึ่งอยู่ขวามือการเดินทางต่อไปอัมพวาให้ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 325 (สมุทรสงคราม - บางแพ) ทางไปอ.ดำเนินสะดวก ประมาณ 6 กิโลเมตร จะพบสามแยกไฟแดง ให้เลี้ยวซ้ายเพื่อเข้าตัวอำเภออัมพวา ไปยังตลาดน้ำอัมพวาและแหล่งท่องเที่ยวอื่นๆ ในอำเภออัมพวา
การเดินทางไปบ้านฝนอัมพวาโดยรถส่วนตัว
เมื่อถึงตัวตลาดน้ำอัมพวาแล้วให้ขับรถข้ามสะพานข้ามคลองอัมพวาฝั่งซ้ายมือคือ"วัดอัมพวันเจติยาราม" ฝั่งขวามือคือ "ถนนประชาอุทิศ" ให้เลี้ยวขวาไปตามถนนประชาอุทิศถึง"โรงเจอัมพวา"(โรงเจเง็กเซ็งซำเป็าเกงเต๊ง) จะพบ"ถนนซอยมังกรทอง" อยู่ซ้ายมือ ให้เลี้ยวไปตามซอยมังกรประมาณ 300 เมตร บ้านฝนอัมพวาจะอยู่ฝั่งซ้ายมือ เพื่อนๆสามารถจอดรถไว้หลังบ้านได้ ซึ่งหน้าบ้านเป็นคลอง ชื่อคลอง "บางจาก-ลัดตาโชติ" อันเป็นคลองย่อยของคลองอัมพวาอีกที
ในกรณีที่จะไปตลาดน้ำอัมพวา จะจอดรถไว้บ้านแล้วเดินออกมา หรือจะขับรถออกมาตลาดน้ำอัมพวา ก็ได้ค่ะ


By car :From Bangkok take Thonburi-paktor route(Highwayno.35), pass Mahachai-Na Kluae crossroads to km.64 and follow right-hand junction to Samutsongkhram.To Amphawa :take Samutsongkhram-Bangpae (Highway no.325) around 6km. turn left to Amphawa.To Fonhomestay : when you are at Amphawan Temple.Turn right to prachaoutit road to chinese Temple and turn left to Soi Mungkorn around 250 m.to Fonhomestay.




ข้อมูลจาก http://www.fonhomestay.com/